เมื่อรถดับกลางอากาศหรือขณะรอบเดินเบา จะมีแนวทางในการวิเคราะห์ได้หลายสาเหตุ แต่ต้นเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากระบบระบบน้ำมันเชื้อเพลิง, ระบบไอดี หรือระบบไฟชาร์จ
แต่เราสามารถจำแนกลักษณะอาการที่รถดับกลางอากาศได้ 4 ลักษณะดังต่อไปนี้
- ปัญหารถดับจากระบบไฟชาร์จ
ปัญหาจากระบบไฟชาร์จ เป็นหนึ่งในต้นเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อรถกระตุกดับ โดยจะตรวจสอบง่ายๆจากสัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถเมื่อระบบไฟชาร์จมีปัญหา เช่น สัญญาณไฟเตือนแบตเตอรี่, สัญญาณไฟเตือนไฟชาร์จ, ไฟเตือนเครื่องยนต์ เป็นต้น รวมไปถึงเรายังสามารถตรวจสอบระบบไฟชาร์จได้ด้วยโวลต์มิเตอร์ ถ้าวัดไฟได้น้อยกว่า 12 โวลต์ หรือแอมป์มิเตอร์เมื่อวัดค่ากระแสได้น้อยๆ
โดยปัญหาไฟเตือนจากระบบไฟชาร์จนั้นอาจจะเกิดจากอุปรณ์/ชิ้นส่วนทางไฟฟ้าที่ทำงานผิดปกติเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวก็เป็นได้เพราะสัญญาณไฟเตือนนี้กำลังบอกให้เรารู้ว่าระบบไฟชาร์จไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอสำหรับแบตเตอรี่และวงจรไฟฟ้าอื่นๆให้ทำงานได้อย่างปกติ โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นมักมาจากตัวไดชาร์จเองหรือไม่ก็ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า (voltage regulator) เมื่อระบบชาร์จไฟของรถไม่สามารถทำงานได้ เรายังอาจจะขับรถต่อไปได้อีกประมาณ 30 นาที (โดยมีเงื่อนไขว่าแบตเตอรี่ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดี) แต่เมื่อไฟหมดเกลี้ยงแบตเตอรี่ เราจะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้อีก
ในรถบางรุ่น, ระบบไฟชาร์จอาจจะถูกควบคุมด้วย ECU รถ ดังนั้นกรณีนี้ระบบไฟชาร์จจะส่งสัญญาณเป็นโค๊ดแจ้งเตือนออกมา ซึ่งโค๊ดนี้จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต่อไปได้ โดยใช้ตัวอ่าน OBD 2 ในการ download โค๊ดสัญญาณ อย่างไรก็ตาม ถ้าไฟเตือนเครื่องยนต์ไม่โชว์ แนวทางการวิเคราะห์ให้ตรวจเช็คอุปกรณ์ดังต่อไปนิ้
- ตรวจสอบสภาพภายนอกตัวแบตเตอรี่ว่ามีความเสียหายหรือไม่
- ตรวจสอบขั้วและสายไฟของแบตเตอรี่ ว่ามีสนิม/ขี้เกลือที่ขั้วแบต หรือสายหลุด/หลวมหรือไม่? เพราะล้วนส่งผลให้การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่สมบูรณ์ไม่เสถียร ถ้าสภาพขั้วและสายไฟไม่พบความผิดปกติ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากตัวแบตเตอรี่เองที่อาจจะเสียหรือเสื่อมสภาพไปแล้ว
- ตรวจสอบสายพาน เพราะสายพานที่หลวมหรือสึกก็ส่งผลให้ไดชาร์จชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่ดีเช่นกัน ให้ทำการตรวจสอบสภาพสายพาน ปรับตั้ง และตรวจสอบพูลเล่เพื่อให้ได้ศูนย์ (alignment)
- ตรวจสอบวงจรไฟชาร์จ รวมถึงสายไฟ ขั้วต่อ ฟิวส์ และจุดเชื่อมต่ออื่นๆ
- ทำการตรวจสอบการทำงานของตัวควบคุมแรงด้นไฟฟ้า (voltage regulator) และไดชาร์จ ว่าทำงานปกติหรือไม่
- เมื่อรถดับทั้งระบบไฟและเครื่องยนต์ขณะกำลังขับ
ถ้าคุณสังเกตพบว่าทุกๆครั้งที่ขับรถผ่านลูกระนาดหรือเมื่อเลี้ยวหักศอก จู่ๆระบบวิทยุ ไฟส่องสว่าง และเครื่องยนต์ก็จะดับไปเอง หลังจากนั้นไม่กี่นาที ทั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆก็จะกำลับมาทำงานได้อีกครั้ง ดูผิวเผินดูเหมือนน่าจะเป็นอาการเสียที่หนัก แต่แนวทางการซ่อมแก้ไขนั้นง่ายมากๆดังต่อไปนี้
- ใส่เบรคมือ สตาร์ทเครื่องและรอจนรอบเดินเบา
- เปิดฝากระโปรง
- ขยับหรือกระดิกสายแบตเตอรี่ รวมถึงสายไฟเส้นเล็กที่ต่อกับตัวถังรถ (ถ้ามี)
- สังเกตุการทำงานของเครื่องยนต์และระบบไฟ ถ้าเครื่องยนต์ดับและไฟหน้าดับทุกครั้งที่กระตุกหรือขยับสายไฟ แสดงว่ามีสาเหตุมาจากขั้วสายไฟที่หลุดหลวม หรือปัญหาจากสนิมรวมไปถึงขั้วสาย/สายไฟที่เสื่อมสภาพ ให้ทำการซ่อมหรือเปลี่ยนสาย/ขั้วสายใหม่
นอกจากสาเหตุจากตัวขั้วสาย/สายไฟแล้ว สาเหตุอื่นๆทีเป็นไปได้ เช่น
- รูกุญแจสึกหรือเสื่อมสภาพ(เสีย) ถ้ามาจากสาเหตุนี้ ไฟหน้าจะยังคงติด
- ฟิวส์ขาดหรือฟิวส์หลอมละลาย ถ้าเกิดจากสาเหตุนี้ ระบบไฟและอุปกรณ์อื่นๆจะยังคงทำงาน แต่อาจจะไม่สามารถสตาร์ทรถใหม่ได้
- เมื่อเครื่องดับหลังจากติดเครื่องไม่กี่นาที
หลังจากสตาร์ทรถและขับไปได้ไม่กี่นาทีเครื่องยนต์ก็ดับ และจะไม่สามารถสตาร์ทใหม่ได้จนกว่าเครื่องจะเย็น อีกทั้งเครื่องก็จะดับอีกครั้งหลังจากขับต่อไปได้อีกไม่กี่นาที ในขณะที่ระบบไฟ วิทยุและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆยังคงทำงานได้ปกติ ถ้ามีอาการลักษณะแบบนี้ ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
- ตรวจเช็คการทำงานของคอยล์จุดระเบิด
- ตรวจเช็คการทำงานของโมดูลจุดระเบิด
- ตรวจเช็คการทำงานของเซ็นเซอร์ตรวจจับตำแหน่ง crankshaft (CKP sensor)
- ตรวจเช็คการทำงานของมอเตอร์ปั๊มติ๊ก
เพราะสาเหตุอาจเกิดจากคอยล์จุดระเบิด และชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ในโมดูลจุดระเบิดหรือมอเตอร์เกิดการ open circuit ซึ่งระบบไม่แสดงอาการใดๆจนกว่าชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์นั้นๆจะเริ่มทำงานและมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ขดลวดข้างในเกิดการขยายตัว(ด้วยความร้อน)และทำให้วงจร open circuit ในส่วนของขั้นตอนการทดสอบว่าเซ็นเซอร์ crankshaft หรือคอยล์จุดระเบิดมีการ open circuit หรือไม่ มีดังนี้
1) ถ้าสามารถถอดเซ็นเซอร์หรือคอยล์จุดระเบิดออกจากรถได้ ควรถอดออกมาก่อน
2) วัดค่าความต้านทาน(R)ของเซ็นเซอร์ หรือค่าความต้านทานของคอยล์จุดระเบิดหลักและคอยล์จุดระเบิดรอง
3) เปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับใน spec ตามคู่มือรถ
4) ใช้เครื่องเป่าลมร้อนหรือไดร์เป่าผมเป่าด้วยระดับความร้อนปานกลาง
5) ทำการวัดค่าความต้านทานตามข้อ 2 อีกครั้ง
6) ถ้าค่าที่วัดได้ต่างจากค่าในคู่มือ หรืออ่านค่าได้เป็นเป็นอนันต์ (¥) ให้ทำการเปลี่ยนเซ็นเซอร์หรือคอยล์จุดระเบิดใหม่
- เมื่อเครื่องดับขณะกำลังจะหยุดรถ
ถ้ารถกระตุกเมื่อใกล้จะหยุดรถหรือเมื่อรอบเดินเบา ถือเป็นสัญญาณบอกว่าโซเลนอยด์ควบคุมปริมาณอากาศ (IAC) มีปัญหา เพราะโดยปกติ ECUรถจะสั่งการโซเลนอย์ IAC เพื่อควบคุมวาล์วลิ้นผีเสื้อในการควบคุมปริมาณอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ให้สอดคล้องกับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาที่พบจะเป็นการอุดตันในช่องทางเดินของอากาศ และตัววาว์ล IAC เอง ที่มีคราบสกปรกจากตะกอนน้ำมันที่สะสม ส่งผลให้อากาศไม่สามารถไหลผ่านได้ ผลก็คือเครื่องยนต์กระตุกดับเมื่อใกล้จะหยุดรถหรือเมื่อรอบเดินเบา ส่วนการตรวจสอบว่าช่องทางเดินอากาศมีการอุดตันมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ตำแหน่งของโซเลนอย์ IAC จะอยู่แถวๆวาล์วลิ้นผีเสื้อ
- ถอดปลั๊กโซเลนอยด์ IAC ออกจากขั้วต่อ
- ถอดโซเลนอยด์จากตัวเรือนวาล์ว
- ตรวจสอบช่องทางเดินอากาศว่ามีคราบเขม่าน้ำมันหรือไม่ และทำความสะอาด
นอกจากการIACอุดตันแล้ว ปัญหาจากตัวมอเตอร์ IAC เสียเองก็มีทางเป็นไปได้เช่นกัน โดยมีแนวทางทดสอบดังนี้
- ถอดโซเลนอยด์ IAC ออกจากตัววาว์ลลิ้นปีกผีเสื้อ
- ต่อโซเลนอย์กับแบตเตอรี่รถโดยใช้สาย jumper
- ถ้าโซเลนอยด์ไม่มีการตอบสนองใดๆ ให้ทำการเปลี่ยนตัวใหม่
หมายเหตุ : นอกจากนี้ IAC มอเตอร์ยังสาสามารถเช็คได้ด้วย โอห์มมิเตอร์ (ถ้าจะเช็คให้ตรวจสอบกับคู่มือรถอีกครี้ง)