Facebook
บทความยอดนิยม
-
บทความใหม่
Categories
Category Archives: การใช้งานรถ
5 สัญญาณเตือนปัญหาเกียร์กระปุก
ที่มารูป freepik.com น้ำมันคลัตซ์ลดลงจากกระปุกอย่างผิดสังเกต หรือพบรอยน้ำมันคลัตซ์ใต้ท้องรถ/ในชุดกล่องเกียร์ นี่เป็นสัญญาณว่าอาจมีการรั่วไหลในระบบเกียร์หรือคลัตซ์ทำงานไม่ปกติ คลัตช์ลื่น โดยปกติแล้ว ถ้าใครขับรถเกียร์กระปุกก็จะรู้จักรถของตนเป็นอย่างดี และจะรู้ว่าต้องใช้รอบเครื่องยนต์เท่าไรในแต่ละช่วงความเร็วในแต่ละเกียร์ แต่เมื่อเครื่องยนต์ทำงานมีรอบเครื่องสูงขึ้นแต่ความเร็วรถยนต์ลดลงกว่าปกติ หรือรถไม่มีกำลังขึ้นทางชัน ซึ่งอาจมีสาเหตุที่ผ้าคลัตช์เปื้อนน้ำมันอันเกิดจากน้ำมันเกียร์รั่วหรือผ้าคลัตช์สึกหรอมาก ซึ่งอาการที่ผ้าคลัตช์สึกหรอมากเราจะเรียกอาการนี้ว่าคลัตช์หมด ยิ่งผ้าคลัตช์สึกหรอมากผู้ขับรถก็ต้องใช้แรงในการเหยียบคลัตช์มากและเปลี่ยนเกียร์ได้ยากขึ้น แป้นคลัตซ์นิ่มหรือจม เมื่อเหยียบคลัตช์แล้วรู้สึกยวบนิ่มหรือจมลงไปกว่าปกติ บางครั้งอาจเหยียบแล้วจมไม่คืนกลับมาตำแหน่งเดิม แสดงว่าอาจเกิดการรั่วของน้ำมันคลัตช์หรือมีอากาศเข้าไปในระบบ หรืออาจเป็นทั้งสองอย่างพร้อมกัน แป้นคลัตซ์แข็ง ในทางตรงกันข้าม ถ้าเหยียบแป้นคลัตซ์แล้วรู้สึกแข็งกว่าปกติ ต้องออกแรงมากกว่าที่เคยกดแป้นตามปกติ หรือเหยียบไปแล้วรู้สึกติดขัดหรือกดลงยาก ก็ควรตรวจเช็คระบบคลัตช์เช่นกัน กลิ่นไหม้ โดยปกติที่แผ่นจานคลัตช์จะมีผ้าคลัตช์ฉาบอยู่เพื่อเพิ่มแรงเสียดทาน รวมถึงช่วยลดการเสียดสีและสึกหรอของจานคลัตช์ ผ้าคลัตช์จะเป็นวัสดุที่ทำมาจากใยหิน และสารสังเคราะห์ ผสมรวมกัน มีคุณสมบัติเหนียว (อายุการใช้งานของผ้าคลัตช์จะอยู่ที่ 80,000 ถึง 100,000 กม.) แต่เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆผ้าคลัตช์ก็จะเริ่มบางลงจนสุดท้ายจะเหลือแต่จานคลัตช์เปลือยๆ ส่งผลให้เกิดการเสียดสีระหว่างโลหะโดยตรงเมื่อกำลังเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งไม่เพียงแต่จานคลัตช์ที่จะเสียหาย … Continue reading
8 เทคนิคขับรถให้สนุก ขับรถลดเครียด
งานวิจัยชี้ว่าหนึ่งในกิจกรรมที่สร้างความเครียดที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ การขับรถ เพราะการขับรถนั้นต้องใช้ทั้งสมาธิและสติ ดังนั้นการจัดการความเครียดบนถนนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญของตัวเราและเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน แต่อย่างไรก็ตามการขับรถก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเครียดหรือน่าเบื่อเสมอไป จริงๆแล้วห้องเล็กๆแคบๆที่เรียกว่าห้องโดยสารนี้ นั้นเป็นได้มากกว่าห้องโดยสาร เราสามารถที่จะเปลี่ยนห้องนี้เป็นห้องพักส่วนตัวที่สงบ, ห้องสำหรับครอบครัวที่เราสามารถสนุกร่วมกัน รวมไปถึงเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนก็ทำได้ ด้วย 8 เทคนิคง่ายๆดังต่อไปนี้ วางแผนก่อนการเดินทาง มีหลายวิธีที่ช่วยลดความเครียดระหว่างขับรถ, ก่อนออกจากบ้านส่วนใหญ่เรารู้อยู่แล้วว่าวันนี้จะต้องเจอกับรถติดหรืออาจจะเดินทางไปถึงที่ทำงานสาย แค่นี้เราก็จะเริ่มรู้สึกเริ่มเครียดแล้ว ดังนั้น ถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วน หรือลองเดินทางในช่วงเวลาที่ต่างกันเล็กน้อยในแต่ละวัน อาจจะออกจากบ้านก่อนหรือช้ากว่าปกติสัก 15-20 นาที ก็ช่วยลดความเครียดในการขับรถได้ไม่น้อย (ขึ้นอยู่กับว่าคุณไปที่ไหนด้วยนะ) อย่าลืมตรวจเช็คเส้นทางและสภาพการจราจร เพราะถนนบางสายอาจมีการปิดหรือซ่อมทาง รวมไปถึงเช็คสภาพการจราจรล่าสุดจาก Google maps หรือแอพฯอื่นในโทรศัพท์ก่อนด้วย หมั่นดูแลตรวจสอบบำรุงรักษารถ รถเสียระหว่างเดินทางก็ถือเป็นอีกเรื่องที่เครียดไม่น้อยสำหรับทุกคนที่ขับรถ แต่คุณสามารถลดโอกาสที่รถจะเสียฉุกเฉินนี้ได้โดยนำรถเข้าเช็คระยะตามกำหนดอยู่เสมอ รวมไปถึงการตรวจเช็ครถก่อนการเดินทางไกลด้วย หรือถ้าคุณมีเวลา ก็ควรหมั่นคอยตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง น้ำหม้อน้ำ น้ำล้างกระจกด้วยตัวเอง บางทีคุณอาจได้เจอกับแม่แรงติดรถโดยที่คุณไม่รู้มาก่อนว่ามันอยู่ตรงนั้น อย่าขับในขณะที่กำลังโกรธหรืออารมณ์ไม่ปกติ หลีกเลี่ยงที่จะขับรถเมื่อเหนื่อย,โกรธ หรือเมื่อมีเรื่องที่กระทบกระเทือนอารมณ์อย่างรุนแรงและกำลังเครียดอยู่ก่อนแล้ว ควรหยุดพักก่อนเพื่อชาร์จแบตสักพักถือเป็นทางที่ดีกว่า ลองเปลี่ยนmind set เปลี่ยนมุมมองดูบ้าง ความคิดหรือความรู้สึกลบๆนั้นมีแต่จะทำให้ขับรถยิ่งเครียด ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนทัศนคติอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะเปลี่ยนได้ทันทีและต้องใช้เวลาก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ โดยพยายามเปลี่ยนมุมมองว่าการขับรถไม่ใช่เรื่องที่ต้องกดดัน พยายามทำความเข้าใจว่าอะไรทำให้รู้สึกเครียดและพยายามค่อยๆแยกปัญหาออกเป็นส่วนๆ … Continue reading
4 อาการรถดับกลางอากาศ
เมื่อรถดับกลางอากาศหรือขณะรอบเดินเบา จะมีแนวทางในการวิเคราะห์ได้หลายสาเหตุ แต่ต้นเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากระบบระบบน้ำมันเชื้อเพลิง, ระบบไอดี หรือระบบไฟชาร์จ แต่เราสามารถจำแนกลักษณะอาการที่รถดับกลางอากาศได้ 4 ลักษณะดังต่อไปนี้ ปัญหารถดับจากระบบไฟชาร์จ ปัญหาจากระบบไฟชาร์จ เป็นหนึ่งในต้นเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อรถกระตุกดับ โดยจะตรวจสอบง่ายๆจากสัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถเมื่อระบบไฟชาร์จมีปัญหา เช่น สัญญาณไฟเตือนแบตเตอรี่, สัญญาณไฟเตือนไฟชาร์จ, ไฟเตือนเครื่องยนต์ เป็นต้น รวมไปถึงเรายังสามารถตรวจสอบระบบไฟชาร์จได้ด้วยโวลต์มิเตอร์ ถ้าวัดไฟได้น้อยกว่า 12 โวลต์ หรือแอมป์มิเตอร์เมื่อวัดค่ากระแสได้น้อยๆ โดยปัญหาไฟเตือนจากระบบไฟชาร์จนั้นอาจจะเกิดจากอุปรณ์/ชิ้นส่วนทางไฟฟ้าที่ทำงานผิดปกติเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวก็เป็นได้เพราะสัญญาณไฟเตือนนี้กำลังบอกให้เรารู้ว่าระบบไฟชาร์จไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอสำหรับแบตเตอรี่และวงจรไฟฟ้าอื่นๆให้ทำงานได้อย่างปกติ โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นมักมาจากตัวไดชาร์จเองหรือไม่ก็ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า (voltage regulator) เมื่อระบบชาร์จไฟของรถไม่สามารถทำงานได้ เรายังอาจจะขับรถต่อไปได้อีกประมาณ 30 นาที (โดยมีเงื่อนไขว่าแบตเตอรี่ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดี) แต่เมื่อไฟหมดเกลี้ยงแบตเตอรี่ เราจะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้อีก ในรถบางรุ่น, ระบบไฟชาร์จอาจจะถูกควบคุมด้วย ECU รถ ดังนั้นกรณีนี้ระบบไฟชาร์จจะส่งสัญญาณเป็นโค๊ดแจ้งเตือนออกมา ซึ่งโค๊ดนี้จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต่อไปได้ โดยใช้ตัวอ่าน OBD 2 ในการ download โค๊ดสัญญาณ อย่างไรก็ตาม ถ้าไฟเตือนเครื่องยนต์ไม่โชว์ แนวทางการวิเคราะห์ให้ตรวจเช็คอุปกรณ์ดังต่อไปนิ้ ตรวจสอบสภาพภายนอกตัวแบตเตอรี่ว่ามีความเสียหายหรือไม่ ตรวจสอบขั้วและสายไฟของแบตเตอรี่ ว่ามีสนิม/ขี้เกลือที่ขั้วแบต หรือสายหลุด/หลวมหรือไม่? เพราะล้วนส่งผลให้การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่สมบูรณ์ไม่เสถียร ถ้าสภาพขั้วและสายไฟไม่พบความผิดปกติ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากตัวแบตเตอรี่เองที่อาจจะเสียหรือเสื่อมสภาพไปแล้ว ตรวจสอบสายพาน เพราะสายพานที่หลวมหรือสึกก็ส่งผลให้ไดชาร์จชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่ดีเช่นกัน ให้ทำการตรวจสอบสภาพสายพาน ปรับตั้ง … Continue reading
แชร์ประสบการณ์ ต่อประกันภัยรถยนต์อย่างไรให้คุ้มค่า
อย่าหลงเชื่อ โบรกเกอร์ที่โทรมาแจ้งสิทธิโปรโมชั่นให้ชำระค่ามัดจำเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการล็อคเรตเบี้ยประกันก่อนจะปรับโครงสร้างราคาในปีต่อไป เนื่องจากค่าเบี้ยประกันภัยไม่จำเป็นต้องจ่ายก่อนล่วงหน้านานหลายเดือน เพราะค่าเบี้ยประกันจะคำนวณจากประวัติการเคลมของเราทั้งปี ดังนั้นการจ่ายค่ามัดจำก่อนไม่ได้เป็นการการันตีค่าเบี้ยประกันภัยแต่อย่างใด การต่ออายุและชำระเบี้ยประกันภัยก่อนหมดอายุล่วงหน้าเพียงหนึ่งเดือนก็เพียงพอแล้วที่จะให้เกิดการคุ้มครองประกันภัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อบริษัทประกันจ่ายค่าเสียหายให้แล้ว ควรระมัดระวังในการเซ็นต์เอกสารให้ดี บริษัทประกันบางรายที่ฉ้อฉลเมื่อจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตาม กธ.พรบ.ให้กับผู้เสียหายแล้ว ก็จะให้ผู้เสียหายเซ็นต์หนังสือสัญญาตกลงประนีประนอมยอมความโดยที่ผู้เสียหายรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเนื้อความในหนังสือจะระบุว่าผู้เสียหายพึงพอใจในค่าเสียหายที่ได้รับแล้วและจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดเพิ่มเติม ไม่ติดใจเอาความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาอีกต่อไป ซึ่งความเป็นจริงผู้เสียหายยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องจากผู้ที่ทำให้เราเสียหายได้อีกตามกฎหมายการละเมิด หรือมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยในค่าเสียหายตามกรมธรรม์ภาคสมัครใจเพิ่มอีก แต่ถ้าผู้เสียหายไปเซ็นต์หนังสือดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นการสละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายอื่นๆที่เราควรได้รับเพิ่ม เช่น การที่ผู้เสียหายได้รับเงินเป็นค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว5หมื่นบาท ซึ่งถือว่าเต็มวงเงินสูงสุดของพรบ.แล้ว แต่ผู้เสียหายยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอื่นเพิ่มอีก เช่น ค่าขาดรายได้จากการทำงานเพราะบาดเจ็บ ค่ารักษาต่อเนื่อง ซึ่งอาจเรียกได้เป็นเงินถึง 1แสน-1ล้านบาท ตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับสมควรแก่ฐานะ หรือตามสมควรแก่เหตุการณ์ ของผู้เสียหายแต่ละคน แจ้งเคลมทุกครั้งต้องมีคู่กรณี เพราะหากเราไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ หรือระบุไม่ชัดเจน ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก ในกรณีที่เฉี่ยวชนกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เสาไฟฟ้า รั้วบ้าน ก็เช่นกัน ก็ให้ถือว่า … Continue reading
Posted in การใช้งานรถ, อื่นๆ
Leave a comment
แค่สังเกตหน้าปัดรถก็ช่วยถนอมเกียร์ได้
เพราะชุดเกียร์ออโตเมติกไม่ได้ทำหน้าที่แค่รับแรงจากเครื่องยนต์แล้วส่งไปที่ล้อเท่านั้น แต่ชุดเกียร์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ช่วยให้เราขับเคลื่อนรถได้หลากหลาย ทั้งเดินหน้าถอยหลัง เนื่องจากเครื่องยนต์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงความเร็วแคบๆช่วงหนึ่งเท่านั้น ถ้าไม่มีชุดเกียร์จะส่งผลให้เครื่องยนต์เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์และสิ้นเปลืองน้ำมัน เนื่องจากเครื่องยนต์ต้องทำงานในรอบเครื่องที่ช้าหรือเร็วมากเกินไป ด้วยขณะที่รถขับเคลื่อนด้วยความเร็วต่างๆชุดเกียร์จะช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานอยู่รอบที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยชุดเกียร์จะทำการปรับเปลี่ยนเกียร์ที่ดีสุดให้สัมพันธ์กับความเร็วของรถ การสังเกตจุดที่ชุดเกียร์ทำการเปลี่ยนเกียร์จะช่วยให้เรารู้จักจังหวะการทำงานของชุดเกียร์ และเมื่อเกียร์เริ่มมีปัญหาเราจะสามารถสังเกตถึงอาการผิดปกติได้โดยง่าย รถทุกคันล้วนมีหน้าปัดบอกความเร็วรอบเครื่องอยู่แล้ว แต่เจ้าของรถบางส่วนมักไม่ให้ความสำคัญ แค่หมั่นสังเกตเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับหน้าปัดรอบเครื่องก็จะช่วยให้เราเข้าใจชุดเกียร์รถเรามากขึ้น เมื่อเกียร์เริ่มมีอาการผิดปกติเราก็จะสามารถรับรู้และแก้ไขก่อนที่อาการเสียจะบานปลายได้ โดยจุดที่รถทำการเปลี่ยนเกียร์ สามารถสังเกตง่ายๆได้เมื่อเรากดคันเร่งเพิ่มความเร็วรถจนถึงจุดหนึ่งที่รถจะทำการเปลี่ยนเกียร์ รอบเครื่องก็จะขึ้นสูงชั่วขณะ จากนั้นก็จะลดต่ำลง แล้วความเร็วรถก็จะเพิ่มขึ้น ถึงแม้จุดที่ชุดเกียร์ทำการเปลี่ยนเกียร์จริงๆนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่เมื่อเซ็นเซอร์ต่างๆส่งข้อมูลไปยัง ECU เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดจุดที่ทำการเปลี่ยนเกียร์แล้ว จากนั้น ECU ก็จะส่งสัญญาณสั่งให้คลัชทำการปล่อย เพื่อเริ่มทำการเปลี่ยนเกียร์ นอกจากนี้ ถ้าเรากดคันเร่งหรือเมื่อเซ็นเซอร์ส่งข้อมูลว่ารถกำลังเร่ง แต่ ECUกลับยังไม่สั่งการให้เปลียนเกียร์ ก็จะส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานรอบสูงขึ้น ใช้พลังงานมากขึ้น และกินน้ำมันมากขึ้น เพราะรถยังใช้เกียร์เดิมนั่นคือไม่สัมพันธ์กับความเร็วความเร่งรถที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ส่วนปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนเกียร์ก็คือ สุญญากาศในเครื่องยนต์ อุณหภูมิเครื่องยนต์ โหลดของเครื่องยนต์ และพฤติกรรมการขับขี่ของเราที่ผ่านมา … Continue reading
Posted in การดูแลรถ, การใช้งานรถ, ความรู้เรื่องรถ
Tagged ดูแลรถ, ดูแลรักษารถ, ดูแลเกียร์รถ, หน้าปัดรถ, อาการเกียร์รถ, เกียร์ออโต้, เกียร์อัตโนมัติ
Leave a comment
6 สัญญาณ 4 เทคนิคดูแลปั๊มติ๊กให้อยู่คู่รถนานๆ
ปั๊มติ๊กจะจุ่มอยู่ในถังน้ำมันเพื่อดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันส่งให้ระบบเพื่อทำการเผาไหม้ ปัจจุบันปั๊มติ๊กถูกขับด้วยเฟือง/มอเตอร์ไฟฟ้า โดยปั๊มติ๊กจะทำงานคู่กับกรองน้ำมันเบนซินและเรกกูเรเตอร์เพื่อกรองน้ำมันและควบคุมแรงดันน้ำมันก่อนส่งเข้ารางหัวฉีด สาเหตุที่เรียกว่า “ปั๊มติ๊ก” เนื่องจากปั๊มติ๊กสมัยก่อนจะใช้หลักการขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าในการดันไดอะแฟรม(ภายในปั๊มติ๊ก)เพื่อสูบจ่ายน้ำมันจึงมีเสียง “ติ๊ก” เนื่องจากเครื่องยนต์สมัยก่อนใช้คาร์บูเรเตอร์ที่ใช้ความดันในระบบไม่ค่อยสูงแค่ 10-15 psi ปั๊มติ๊กซึ่งทำงานแบบกลไกล(อาศัยหลักกลศาสตร์)ด้วยไดอะแฟรมนี้จึงมีแรงเพียงพอในการสร้างความดันให้กับระบบ แต่เครื่องยนต์ปัจจุบันที่ใช้ระบบหัวฉีดซึ่งต้องการแรงดันที่สูงขึ้น จึงต้องเปลี่ยนเป็นปั๊มระบบไฟฟ้า (แรงดัน 40-50 psi) ซึ่งปั๊มแบบนี้จะมีแรงในการดูดน้ำมันต่ำแต่มีแรงฉีด(ส่ง)สูง จึงต้องติดตั้งปั๊มในถังน้ำมัน ถ้าปั๊มติ๊กแบบเก่าจะมีแรงดูดสูงแต่แรงฉีดต่ำจึงติดใกล้ๆเครื่องยนต์ รวมไปถึงเป็นการลดต้นทุนการประกอบในโรงประกอบรถ เนื่องจากปั๊มติ๊กที่ติดตั้งในถังน้ำมันจะถูกผลิตสำเร็จรูปติดมากับถังน้ำมันจาก supplier เลย ปั๊มติ๊กแบบไฟฟ้าจะมีทั้งแบบใช้ เรกกูเรเตอร์(อยู่ที่ห้องเครื่อง)ในการควบคุมแรงดันน้ำมันในระบบและส่งแรงดันส่วนเกินกลับถังน้ำมัน ซึ่งมีข้อดีก็คือจะช่วยควบคุมน้ำมันไม่ให้ร้อนเกินไป ส่วนปั๊มติ๊กแบบไม่ใช้เรกกูเรเตอร์ จะใช้ ECU เป็นตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมที่จะจ่ายให้ปั๊มติ๊กส่งผลให้ความดันน้ำมันที่ปั๊มสูบฉีดแปรผันตามแรงดันไฟฟ้า หรืออีกแบบก็คือใช้ pressure relief valve ที่ตัวปั๊มติ๊กเองปล่อยแรงดันส่วนที่เกินกลับถังน้ำมัน น้ำมันที่ไหลผ่านปั๊มติ๊กช่วยให้ปั๊มติ๊กไม่ร้อนและมีการหล่อลื่น เมื่อน้ำมันในถังเหลือน้อยปั๊มติ๊กก็ยิ่งต้องทำงานหนักขึ้นในการสูบน้ำมันที่อยู่ระดับต่ำลงไป ประกอบกับไม่มีน้ำมันมาห่อหุ้มเพื่อระบายความร้อนและหล่อลื่นปั๊มติ๊ก ทั้งสองเหตุผลนี้คือสาเหตุที่ทำให้ปั๊มติ๊กเริ่มเสื่อมสภาพ ถ้าจำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้นานๆ ควรถ่ายน้ำมันเก่าออกให้หมดแล้วใส่น้ำมันใหม่ไปแทนที่ … Continue reading
รถใหม่ต้อง Run In หรือไม่?
เป็นคำถามที่ถกเถียงกันไม่น้อย ว่ารถยนต์สมัยนี้ยังจำเป็นต้อง Run In อยู่หรือไม่ โดยฝ่ายที่สนับสนุนให้ Run In ก็ให้เหตุผลว่าต้องทำเพราะเครื่องยนต์ยังใหม่ ระบบต่างๆยังไม่เข้าที่ จึงต้อง Run In เพื่อถนอมชิ้นส่วนต่างๆในเครื่องยนต์ ส่วนฝ่ายที่เสนอว่าไม่จำเป็นต้อง Run In เนื่องด้วยเทคโนโลยีการผลิตในปัจจุบันที่ทันสมัยขึ้น การประกอบรถยนต์มีความแม่นยำเที่ยงตรงขึ้น รวมไปถึงโรงงานมีการทดสอบมาก่อนแล้ว ซึ่งยังมีจุดที่เข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่เพราะการทดสอบที่โรงงานรถยนต์นั้นเป็นการ Break In ไม่ใช่ Run In โดยการ Break In ก็คือการ start เครื่องยนต์ในครั้งแรกจะมีการเสียดสีของชิ้นส่วนต่างๆค่อนข้างมากเพื่อให้เกิดการสึกหรอในระดับที่ชิ้นส่วนต่างๆขบกันอย่างเข้าที่ เข้าที่แบบที่น้ำมันเครื่องจะเข้าไปแทรกได้และทำงานได้อย่างเหมาะสม โดยการ Break In นี้จะกระทำที่โรงงานและทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่มีเศษโลหะต่างๆออกมา ก่อนจะทำการส่งมอบรถออกจำหน่ายต่อไป โดยยังไม่ใช่การ Run … Continue reading
Posted in การดูแลรถ, การใช้งานรถ, ความรู้เรื่องรถ
Leave a comment
อย่าเชื่อคู่มือรถเรื่องระยะที่ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์…ถ้าคุณขับรถในเมืองไทย!!!
เพราะคู่มือรถหลายๆค่ายแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ที่ระยะ 40,000 หรือ 60,000 กิโลเมตร ประกอบกับผู้ผลิตรถยนต์ต้องการโชว์ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ต่ำจึงเลือกระยะเวลาในการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ให้นานขึ้นเท่าที่จะนานได้ แต่เนื่องจากสภาพอากาศในเมืองไทยที่ร้อนชื้น และต้องมาเจอกับสภาพการจราจรที่ค่อนข้างติดขัด ส่งผลเกียร์ต้องทำงานหนักกว่าปกติ ดังนั้น Top Speed ขอแนะนำให้เปลี่ยนทุก 20,000 กิโลเมตร หรือกรณีที่ใช้งานหนักมากควรเปลี่ยนที่ระยะ 10,000 กิโลเมตร ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์นั้น รถบางยี่ห้ออย่างเช่น Honda ค่าเปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติแค่เพียงไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับความเสียหายที่ชุดเกียร์ที่ต้องเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากเกียร์ที่ต้องงานอย่างหนักและพังก่อนกำหนด สำหรับรถที่มีกรองน้ำมันเกียร์ก็ควรถอดออกมาล้างหรือเปลี่ยนชุดใหม่ไปพร้อมกับการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์พร้อมกัน รวมถึงอย่าลืมตรวจสอบน็อตหรือสลักถ่ายน้ำมันเกียร์และแหวนรองด้วยเช่นกัน Top Speed ขอแนะนำให้เปลี่ยนน๊อตและแหวนรองชุดใหม่ไปเลย เนื่องจากน็อตที่บี้หรือแหวนรองเสื่อมสภาพจะส่งผลให้น้ำมันเกียร์รั่วไหลได้
เหยียบเบรกทุกครั้งก่อน Start รถ รวมถึงเมื่อเปลี่ยนเกียร์จาก N หรือ P
ก่อน Start รถ รวมถึงทุกสถานการณ์ที่เกียร์อยู่ในตำแหน่ง N หรือ P ควรเหยียบเบรกทุกครั้งก่อนเคลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ D หรือ R และไม่ควรเหยียบคันเร่งลงไปทันที ควรรอให้รถหยุดสนิทก่อนจะเปลี่ยนเกียร์เพื่อเดินหน้าหรือถอยหลัง เพราะนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยแล้ว ยังเป็นถนอมเกียร์ ลดการขบกระแทกของชุดฟันเกียร์จากการเปลี่ยนเกียร์อย่างกะทันหัน
เทคนิคการขับรถในทางโค้ง
ควรลดความเร็วรถลงก่อนเข้าทางโค้ง เพราะการลดความเร็วรถเมื่ออยู่ในทางโค้งแล้วจะทำให้การควบคุมรถทำได้ยาก และอาจทำให้รถสูญเสียการควบคุม เมื่อเข้าโค้งแล้วก็ควรปรับพวงมาลัยไปตามโค้งอย่าให้หลุดโค้ง กรณีมีช่องจราจรมากกว่าหนึ่งช่อง เมื่อจะเข้าโค้งซ้ายให้ขับชิดเลนขวา หรือเมื่อจะเข้าโค้งขวาให้ขับชิดเลนซ้าย เพื่อที่จะได้มองเห็นรถที่สวนมา ที่สำคัญไม่ควรเพิ่มความเร็ว รวมถึงอย่าถอนคันเร่งและอย่าเหยียบเบรคกะทันหันขณะเข้าโค้งเพราะจะทำให้รถหลุดจากทางโค้งได้
Posted in การใช้งานรถ
Leave a comment