Facebook
บทความยอดนิยม
-
บทความใหม่
Categories
Category Archives: อื่นๆ
เมื่อรถ EV ไฟไหม้เองหลังจากน้ำท่วม!
รถโดนน้ำท่วมก็ว่าแย่แล้ว แต่ถ้ารถคันนั้นยังถูกไฟไหม้อีก หากเป็นรถยนต์ธรรมดาก็ว่าแปลกแล้ว แต่ถ้ารถคันนั้นเป็นรถEV ที่ทั้งโดนน้ำท่วมและไฟไหม้เองในคันเดียวกัน มีโอกาสเกิดขึ้นจริงไหม? แล้วการดับไฟและการจัดการหลังน้ำลดสำหรับรถEV จะทำอย่างไร? ทำเหมือนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไหม? พายุเฮอริเคน “เอียน” ที่พัดถล่มรัฐฟลอริดาของอเมริกาได้พัดพาคำตอบมาให้กับเราแล้ว… วันที่ 28 กันยายน 2565 พายุเฮอริเคนเอียนพัดถล่มชายฝั่งอ่าวของฟลอริดา คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 136 ราย สร้างความเสียหายสูงถึงมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์และทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่เป็นวงกว้าง นอกจากนี้ ผลพวงของน้ำท่วมจากพายุยังทำให้ยานยนต์ไฟฟ้า(รถEV)อย่างน้อย 11 คันเกิดเพลิงไหม้ ! ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ US TODAY วันที่ 26 ต.ค. 2565 รายงานว่ามีรถEVจำนวน 11 คันที่เกิดเพลิงไหม้ในฟลอริดาหลังเกิดน้ำท่วมจากพายุ โดยสาเหตุเชื่อว่าเกิดจากชุดแบตเตอรี่ของรถที่เกิดการลัดวงจรหลังจากจมอยู่ในน้ำ(ทะเล) หรืออาจเกิดจากความเสียหายทางกายภาพต่อชุดแบตเตอรี่ของรถในระหว่างที่น้ำท่วม … Continue reading
เทคโนโลยี CTC กับ CTB ในรถ EV ของใครเจ๋งกว่า? ต่างกันอย่างไร?
เนื่องจากแต่เดิมทางผู้ผลิตยานยนต์จะใช้โครงสร้างตัวถังหรือแชสซีเดิมของรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน แล้วนำชุดแบตเตอรี่มาจัดวางใต้ท้องรถไปเลย ส่วนโครงสร้างชุดแบตเตอรี่นั้นก็จะเป็นแบบแบตเตอรี่แพ็คที่ประกอบไปด้วยแบตเตอรี่โมดูล และหน่วยเล็กที่สุดเป็นแบตเตอรี่เซลล์ เพราะช่วยในเรื่องการจัดการความร้อน/การถ่ายเทความร้อนในแต่ละเซลล์ และการแบ่งเป็นหน่วยอย่างโมดูล ก็ยังช่วยในการตัดวงจรความเสียหายและง่ายต่อการซ่อมบำรุงแยกเป็นโมดูล รวมถึงยังเพิ่มความแข็งแรงให้กับชุดแบตเตอรี่ในแง่ของความปลอดภัยที่มีโครงสร้างทั้งแบตเตอรี่โมดูลและแบตเตอรี่แพ็คครอบอีกชั้นหนึ่ง แต่รูปแบบ “เซลล์-โมดูล-แพ็ค” นี้ก็ส่งผลให้ต้องมีโครงสร้างและระบบสายไฟที่ซับซ้อนภายในแบตเตอรี่เพื่อเชื่อมระหว่างเซลล์และระหว่างโมดูล จึงได้มีการคิดค้น CTP หรือ Cell to pack ขึ้นเพื่อตัดในส่วนของโมดูลออก CTP (cell to pack) เป็นเทคโนโลยีที่ในแบตเตอรี่แพ็คจะประกอบด้วยเซลล์แบตเตอรี่โดยตรง ไม่ต้องใช้โมดูล ลดส่วนประกอบในโครงสร้างและสายไฟของแบตเตอรี่โมดูลออก ลดต้นทุนและลด process ในการประกอบแบตเตอรี่ แต่ CTP ก็มีข้อจำกัดคือ การบำรุงรักษา และการถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ยุ่งยากขึ้น จากเดิมที่สามารถเปลี่ยนเป็นโมดูลเป็นก้อนๆ เมื่อโมดูลใดโมดูลหนึ่งเสียหาย ก็อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยกแพ็คเมื่อเซลล์แบตเตอรี่ใดเสียหาย แต่ด้วยการแข่งขันในตลาดรถ EV ที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตยานยนต์บางค่ายต้องการออกแบบให้ตัวถังรถสามารถบรรจุแบตเตอรี่ได้เพิ่มมากขึ้น … Continue reading
เมื่อไรต้องเปลี่ยนผ้าเบรค จานเบรค?
ปกติผ้าเบรคควรจะเปลี่ยนที่ราวๆ 50,000 ถึง 100,000 กิโลเมตรหรือเมื่อผ้าเบรคมีความหนาน้อยกว่า 3 มม. แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าเบรคและพฤติกรรมในการขับขี่ ว่ามีการเหยียบเบรคกระทันหันด้วยความรุนแรงหรือไม่ มีการเลี้ยงเบรคหรือไม่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามจานเบรคก็มีการสึกหรอจากการเสียดสีและส่งผลให้ผิวจานอาจไม่เรียบด้วยเช่นกัน โดยตามหลักการแล้ว เมื่อเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ก็ควรจะเปลี่ยนจานเบรคใหม่ด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากรถยนต์สมัยก่อนที่จานเบรคค่อนข้างหนา การเจียรจานเบรคเพื่อปรับผิวหน้าจานใหม่ให้เรียบนั้นสามารถทำได้ แต่สำหรับรถยนต์ในปัจจุบันด้วยการลดต้นทุนของค่ายรถต่างๆ จานเบรคจึงมีความหนาลดลงเพื่อลดต้นทุนและราคา ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์จึงแนะนำให้เปลี่ยนจานเบรคใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ไปพร้อมกันเลยมากกว่า แต่ในความเป็นจริงก็ไม่จำเป็นว่าทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ต้องเปลี่ยนจานเบรคไปด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพจานเบรคว่าไม่มีการโก่งบิดเสียรูป/รอยคลื่นและยังมีความหนาเพียงพอในการใช้งานหรือไม่ ยกเว้นว่าถ้าจานเบรคเคยถูกเจียรมาก่อนแล้ว เมื่อต้องทำการเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่อีกรอบ ก็ไม่ควรจะเจียรจานอีกเพราะความหนาของจานเบรคอาจไม่เพียงพอ ส่วนความหนาน้อยสุดเมื่อต้องเปลี่ยนจานเบรคสามารถตรวจสอบได้จากตัวจานเบรคเอง บางครั้งเราก็สามารถบอกได้ด้วยตัวเองว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนจานใหม่ได้แล้ว ถ้าพบว่าเมื่อเหยียบเบรคแล้วมีเสียงเหล็กเสียดสีมาจากเบรคหรือมีแรงสั่นเมื่อเหยียบเบรค รวมไปถึงเมื่อมีสัญญาณไฟเตือนบนแผงหน้าปัดด้วยเช่นกัน
ไฟเตือนเครื่องยนต์เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
ไฟเตือนเครื่องยนต์ คือ ไฟที่แสดงสัญญาณจาก ECU รถว่ามีปัญหาอะไรสักอย่าง โดยปกติแล้วเมื่อรถติดเครื่องแล้ว ECU จะทำการตรวจสอบทวนสัญญาณกับทุกอุปกรณ์ในระบบว่ายังทำงานปกติดีอยู่หรือเปล่า ถ้าไฟเครื่องยนต์ติดกระพริบขณะที่ขับรถอยู่ให้รีบทำการหยุดรถ(ในที่ปลอดภัย)ทันที แล้วทำการติดต่อรถลากเข้าอู่หรือศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบ หากยังฝืนขับต่อ เครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ที่สำคัญในรถอาจจะเสียหายหนักจนต้องยกเครื่องใหม่เลยก็ได้ แต่ถ้าไฟเครื่องยนต์แค่ติดค้าง กรณีนี้ถือว่ายังไม่ร้ายแรง ยังพอสามารถขับรถต่อไปได้ แต่ก็ควรตรวจเช็คเพิ่มเติมเพื่อแก้ไข โดยทั่วไปแล้วสาเหตุที่ส่งผลให้ไฟเตือนเครื่องยนต์ติดมักเกิดจากอุปกรณ์ส่วนใหญ่ดังต่อไปนี้ Catalytic converter ซึ่งมีหน้าที่หลักคือการแปลงสสารของก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซต์หรือสารพิษอื่นๆให้ลดทอนลงด้วยความร้อนสูงๆ รวมถึงเผาไหม้ตะกอนต่างๆอีกด้วย ดังนั้นถ้ามีไฟเตือนเครื่องยนต์ติดจากแคตฯก็จะส่งผลให้ครื่องยนต์ไม่มีกำลังและกินน้ำมัน (อ่านเทคนิคการดูรักษาแคตฯได้จากบทความ “7 เหตุผลที่ทำให้แคตตาไลติกกลับบ้านเก่าก่อนกำหนด”) Mass Airflow Sensor (MAF sensor) เป็นอุปกรณ์ที่วัดปริมาณอากาศที่เข้าสู่ระบบแล้วส่งข้อมูลไป ECU เพื่อประมวลผลฉีดน้ำมันให้เหมาะสมกับการเผาไหม้กับปริมาณอากาศที่เข้ามา ส่วนใหญ่แล้วโอกาสที่เซ็นเซอร์จะเสียนั้นพบไม่ได้บ่อย แต่ถ้าเซ็นเซอร์ทำงานผิดเพี้ยน ต้นเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากกรองอากาศที่ตันหรือสกปรกซึ่งไม่ได้รับการเปลี่ยนใหม่มากกว่า อาการที่จะตามมาก็คือเครื่องกระตุกสะดุด ไม่มีกำลัง (อ่านบทความเกี่ยวการเปลี่ยนกรองอากาศได้ที่ “การเปลี่ยนกรองอากาศไม่ได้ช่วยให้ประหยัดน้ำมันขึ้น!”) … Continue reading
Posted in การดูแลรถ, ความรู้เรื่องรถ, อื่นๆ
Tagged ไฟเครื่องยนต์, ไฟเตือนเครื่องยนต์
Leave a comment
4 อาการรถดับกลางอากาศ
เมื่อรถดับกลางอากาศหรือขณะรอบเดินเบา จะมีแนวทางในการวิเคราะห์ได้หลายสาเหตุ แต่ต้นเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากระบบระบบน้ำมันเชื้อเพลิง, ระบบไอดี หรือระบบไฟชาร์จ แต่เราสามารถจำแนกลักษณะอาการที่รถดับกลางอากาศได้ 4 ลักษณะดังต่อไปนี้ ปัญหารถดับจากระบบไฟชาร์จ ปัญหาจากระบบไฟชาร์จ เป็นหนึ่งในต้นเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อรถกระตุกดับ โดยจะตรวจสอบง่ายๆจากสัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถเมื่อระบบไฟชาร์จมีปัญหา เช่น สัญญาณไฟเตือนแบตเตอรี่, สัญญาณไฟเตือนไฟชาร์จ, ไฟเตือนเครื่องยนต์ เป็นต้น รวมไปถึงเรายังสามารถตรวจสอบระบบไฟชาร์จได้ด้วยโวลต์มิเตอร์ ถ้าวัดไฟได้น้อยกว่า 12 โวลต์ หรือแอมป์มิเตอร์เมื่อวัดค่ากระแสได้น้อยๆ โดยปัญหาไฟเตือนจากระบบไฟชาร์จนั้นอาจจะเกิดจากอุปรณ์/ชิ้นส่วนทางไฟฟ้าที่ทำงานผิดปกติเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวก็เป็นได้เพราะสัญญาณไฟเตือนนี้กำลังบอกให้เรารู้ว่าระบบไฟชาร์จไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอสำหรับแบตเตอรี่และวงจรไฟฟ้าอื่นๆให้ทำงานได้อย่างปกติ โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นมักมาจากตัวไดชาร์จเองหรือไม่ก็ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า (voltage regulator) เมื่อระบบชาร์จไฟของรถไม่สามารถทำงานได้ เรายังอาจจะขับรถต่อไปได้อีกประมาณ 30 นาที (โดยมีเงื่อนไขว่าแบตเตอรี่ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดี) แต่เมื่อไฟหมดเกลี้ยงแบตเตอรี่ เราจะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้อีก ในรถบางรุ่น, ระบบไฟชาร์จอาจจะถูกควบคุมด้วย ECU รถ ดังนั้นกรณีนี้ระบบไฟชาร์จจะส่งสัญญาณเป็นโค๊ดแจ้งเตือนออกมา ซึ่งโค๊ดนี้จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต่อไปได้ โดยใช้ตัวอ่าน OBD 2 ในการ download โค๊ดสัญญาณ อย่างไรก็ตาม ถ้าไฟเตือนเครื่องยนต์ไม่โชว์ แนวทางการวิเคราะห์ให้ตรวจเช็คอุปกรณ์ดังต่อไปนิ้ ตรวจสอบสภาพภายนอกตัวแบตเตอรี่ว่ามีความเสียหายหรือไม่ ตรวจสอบขั้วและสายไฟของแบตเตอรี่ ว่ามีสนิม/ขี้เกลือที่ขั้วแบต หรือสายหลุด/หลวมหรือไม่? เพราะล้วนส่งผลให้การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่สมบูรณ์ไม่เสถียร ถ้าสภาพขั้วและสายไฟไม่พบความผิดปกติ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากตัวแบตเตอรี่เองที่อาจจะเสียหรือเสื่อมสภาพไปแล้ว ตรวจสอบสายพาน เพราะสายพานที่หลวมหรือสึกก็ส่งผลให้ไดชาร์จชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่ดีเช่นกัน ให้ทำการตรวจสอบสภาพสายพาน ปรับตั้ง … Continue reading
ขี้เกลือที่ขั้วแบต เกิดขึ้นได้อย่างไร แก้ไขและดูแลรักษาอย่างไร?
เมื่อเกิดขี้เกลือขึ้นที่ขั้วแบต ซึ่งยิ่งสะสมมากก็จะเป็นการเพิ่มความต้านทานไฟฟ้าให้กับระบบ ส่งผลให้การไหลของกระแสไฟฟ้าไม่ราบรื่น การจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ไม่เสถียร และผลสุดท้ายก็คือรถสตาร์ทไม่ติด ขี้เกลือที่ขั้วแบตเกิดจากก๊าซไฮโดรเจนที่ถูกปล่อยออกจากน้ำกรดในแบตเตอรี่ เมื่อทำปฏิกิริยากับสสารในบรรยากาศใต้กระโปรงรถจึงก่อตัวเป็นขี้เกลือบนขั้วแบต ถ้าขี้เกลือก่อตัวขึ้นที่ขั้วลบ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่าแบตอันเดอร์ชาร์จหรือประจุไฟเข้าไม่พอ แต่ถ้าเกิดขึ้นที่ขั้วบวก ก็อาจเป็นไปได้ว่าแบตโอเวอร์ชาร์จหรือประจุไฟมากเกินไป อีกทั้งเมื่อขั้วแบตหลวม และทำการใช้งานรถ แบตเตอรี่จะเริ่มร้อน ส่งผลให้น้ำกรดระเหยออกมาทำปฏิกิริยาเกิดเป็นขี้เกลือ รวมไปถึงแบตเตอรี่เก่าหรือตัวแบตเตอรี่แตกร้าวก็เช่นกัน รอยฉีกที่หัวของตัวแบต ก็ส่งผลให้น้ำกรดรั่วไหล แล้วทำปฎิกิริยาก่อเกิดขี้เกลือได้ สำหรับขั้นตอนการทำความสะอาดขี้เกลือ อาจใช้น้ำร้อนหรือน้ำอัดลม(โคล่า)ราดบริเวณที่เกิดขี้เกลือ หลังจากนั้นจึงใช้แปรงสีฟันขัด เมื่อเสร็จแล้วจึงทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง และเพื่อเป็นการชะลอให้ขี้เกลือกลับมาเกิดได้ช้าลง ให้ทาจาระบีบางๆที่รอบๆขั้วแบต และหาแหวนกันขี้เกลือมาสวมใส่ (เป็นผ้าสักหลาดตัดเป็นรูปทรงเหมือนแหวนรองน็อต – ถ้าหาซื้อไม่ได้สามารถทำเองได้) แต่อย่างไรก็ตาม หากแบตเตอรี่รถคันใดเกิดขี้เกลือขึ้นแล้ว แม้จะทำความสะอาดขัดออกไป ขี้เกลือก็ยังมีโอกาสกลับมาเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบแบตเตอรี่เป็นประจำ หากพบว่าจาระบีที่ทาไว้แห้ง ขั้วแบตหลวม ควรรีบแก้ไขและดูแลรักษาเป็นระยะๆ ก็จะเป็นการลดโอกาสเกิดขี้เกลือและถนอมแบตเตอรี่รถยนต์อีกทางหนึ่ง
Posted in อื่นๆ
Leave a comment
จริงๆแล้ว…เครื่องยนต์ดีเซลไม่มีเอ็นจิ้นเบรค!!!
เพราะเครื่องยนต์ดีเซลไม่มี engine brake เหมือนเครื่องยนต์เบนซิน เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลไม่มีการควบคุมปริมาณอากาศที่ไหลเข้าเครื่องยนต์ไหลเข้ากระบอกสูบ หรือพูดง่ายๆก็คือไม่มีวาล์วปีกผีเสื้อเหมือนเครื่องเบนซิน นั่นคืออากาศจะไหลเข้าตลอดเวลา โดยความเร็วของเครื่องยนต์ดีเซลจะถูกควบคุมด้วยปริมาณการฉีดน้ำมันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์ดีเซลมีระบบเบรคดังต่อไปนี้แทน เบรคไอเสีย (Exhaust Brake) เบรคอไอเสีย คือ ระบบเบรคที่ใช้การปิดกั้นไอเสียบางส่วนไม่ให้ออกจากกระบอกสูบ ส่งผลให้เกิดแรงดันขึ้นต้านการเคลื่อนที่ของลูกสูบ ผลที่ได้ก็คือเครื่องยนต์ก็จะหมุนช้าลง ความเร็วของรถก็จะลดลงนั่นเอง การทำงานของเบรคไอเสีย จริงๆแล้วเบรคไอเสียไม่สามารถปิดกั้นระบบไอเสียได้อย่างสนิท100% เพราะถ้าระบบไอเสียปิดสนิท ความดันในระบบไอเสียจะสูงขึ้นเรื่อยๆจนสร้างความเสียหายให้กับระบบท่อไอเสียหรือเครื่องยนต์ได้ โดยถ้าความดันในระบบไอเสียหรือความดันด้านหลังของวาล์วไอเสียในเครื่องยนต์นั้นเกินกว่าค่าความสามารถของสปริงที่ยึดวาล์วไว้ จะส่งผลให้วาล์วไอเสียถูกดันให้เปิดออก ผลก็คือลูกสูบก็จะเข้ามากระแทกวาล์วได้ เป็นเหตุให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย เบรคไอเสียจะไม่ทำงานในกรณีต่อไปนี้ เมื่อผ่อนคันเร่ง เมื่ออยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง เมื่อระบบเบรค ABS ทำงาน ทำไมต้องมีระบบเบรคไอเสีย? โดยประโยชน์ของเบรคไอเสียก็คือการช่วยลดภาระของระบบเบรคปกติในรถดีเซล/รถบรรทุก อันเป็นการป้องกันระบบเบรคไหม้เมื่อต้องบรรทุกหนักหรือลากจูงระหว่างลงเขาหรือเมื่อต้องพ่วง ดังนั้นระบบเบรคไอเสียถือเป็นอีกระบบช่วยในการเบรค ถือเป็นอีกระบบที่จำเป็นต้องมีในรถดีเซล/รถบรรทุก ถึงแม้ว่าเครื่องยนต์ดีเซลไม่มี engine brake แต่นอกจากเบรคไอเสียแล้วเครื่องยนต์ดีเซลก็ยังมีระบบ … Continue reading
Posted in ความรู้เรื่องรถ, อื่นๆ
Tagged เบรคไอเสีย, เอ็นจิ้นเบรค, Compression release engine brake, engine brake, exhaust brake, jake brake
Leave a comment
แชร์ประสบการณ์ ต่อประกันภัยรถยนต์อย่างไรให้คุ้มค่า
อย่าหลงเชื่อ โบรกเกอร์ที่โทรมาแจ้งสิทธิโปรโมชั่นให้ชำระค่ามัดจำเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการล็อคเรตเบี้ยประกันก่อนจะปรับโครงสร้างราคาในปีต่อไป เนื่องจากค่าเบี้ยประกันภัยไม่จำเป็นต้องจ่ายก่อนล่วงหน้านานหลายเดือน เพราะค่าเบี้ยประกันจะคำนวณจากประวัติการเคลมของเราทั้งปี ดังนั้นการจ่ายค่ามัดจำก่อนไม่ได้เป็นการการันตีค่าเบี้ยประกันภัยแต่อย่างใด การต่ออายุและชำระเบี้ยประกันภัยก่อนหมดอายุล่วงหน้าเพียงหนึ่งเดือนก็เพียงพอแล้วที่จะให้เกิดการคุ้มครองประกันภัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อบริษัทประกันจ่ายค่าเสียหายให้แล้ว ควรระมัดระวังในการเซ็นต์เอกสารให้ดี บริษัทประกันบางรายที่ฉ้อฉลเมื่อจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตาม กธ.พรบ.ให้กับผู้เสียหายแล้ว ก็จะให้ผู้เสียหายเซ็นต์หนังสือสัญญาตกลงประนีประนอมยอมความโดยที่ผู้เสียหายรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเนื้อความในหนังสือจะระบุว่าผู้เสียหายพึงพอใจในค่าเสียหายที่ได้รับแล้วและจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดเพิ่มเติม ไม่ติดใจเอาความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาอีกต่อไป ซึ่งความเป็นจริงผู้เสียหายยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องจากผู้ที่ทำให้เราเสียหายได้อีกตามกฎหมายการละเมิด หรือมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยในค่าเสียหายตามกรมธรรม์ภาคสมัครใจเพิ่มอีก แต่ถ้าผู้เสียหายไปเซ็นต์หนังสือดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นการสละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายอื่นๆที่เราควรได้รับเพิ่ม เช่น การที่ผู้เสียหายได้รับเงินเป็นค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว5หมื่นบาท ซึ่งถือว่าเต็มวงเงินสูงสุดของพรบ.แล้ว แต่ผู้เสียหายยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอื่นเพิ่มอีก เช่น ค่าขาดรายได้จากการทำงานเพราะบาดเจ็บ ค่ารักษาต่อเนื่อง ซึ่งอาจเรียกได้เป็นเงินถึง 1แสน-1ล้านบาท ตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับสมควรแก่ฐานะ หรือตามสมควรแก่เหตุการณ์ ของผู้เสียหายแต่ละคน แจ้งเคลมทุกครั้งต้องมีคู่กรณี เพราะหากเราไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ หรือระบุไม่ชัดเจน ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก ในกรณีที่เฉี่ยวชนกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เสาไฟฟ้า รั้วบ้าน ก็เช่นกัน ก็ให้ถือว่า … Continue reading
Posted in การใช้งานรถ, อื่นๆ
Leave a comment
6 เทคนิคควรรู้เมื่อต้องนำรถเข้าอู่ (รู้ทันอู่/รู้ทันช่างยนต์)
ตรวจสอบรถเบื้องต้นด้วยตนเอง เมื่อรถมีอาการผิดปกติ หลายๆคนมักเลือกที่จะยกปัญหาการระบุอาการเสียให้เป็นหน้าที่ของช่าง โดยไม่ได้ทำการตรวจเช็คอุปกรณ์/ระบบเบื้องต้นด้วยตนเอง เพื่อที่จะสามารถระบุอุปกรณ์ที่เสียหรือต้องการซ่อมได้ชัดเจนหรือวงแคบลง ซึ่งจะส่งผลให้เราพอคาดเดาแนวทางการซ่อม รวมถึงสามารถสืบค้นราคาอะไหล่จากท้องตลาด เพื่อประเมินราคาในการจัดซ่อมในเบื้องต้นได้ ระบุอาการที่เสียต้องชัดเจน ถ้าเราไม่สามารถระบุอุปกรณ์ที่เสียเองได้จริงๆ ช่างที่ตรวจสอบรถต้องสามารถระบุอาการเสียได้ชัดเจน ไม่ใช่บอกว่าเป็นที่ระบบสตาร์ท ต้องบอกไปเลยว่าเป็นที่ ไดสตาร์ท แบตเตอรี่ กุญแจ หากระบุไม่ชัดเจนหรือบอกอาการกว้างๆ ก็มีแนวโน้มสูงที่แสดงว่าช่างยังขาดประสบการณ์หรือคิดจะเล่นตุกติกบางอย่าง หมั่นสังเกตความน่าเชื่อถือของช่างหรืออู่ โดยพิจารณาจากวิธีการพูดอธิบายประเมินลักษณะอาการเสียของรถจากช่าง และแนวทางการซ่อมที่เขาวางแผนไว้ รวมไปถึงบรรยากาศภายในอู่ มีรถมาใช้บริการมากน้อยแค่ไหน เครื่องมือมีความพร้อมและเพียงพอหรือไม่ บุคลากรมีจำนวนเหมาะสมหรือไม่ เป็นคนไทยหรือต่างด้าว เรื่องราคาค่าซ่อม ค่าอะไหล่ต้องเช็คให้ดี บางครั้งราคาที่ทางอู่เสนอมาอาจจะรู้สึกว่าไม่แพง แต่เราต้องทำการตรวจสอบทวนกลับไปด้วยว่า อะไหล่ที่ใช้เป็นของแท้หรือของเทียบ อะไหล่แท้มือหนึ่งหรือมือสอง ราคาที่เสนอต้องเสียภาษีเพิ่มอีกหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบราคาอะไหล่เกรดเดียวกันในท้องตลาดเทียบด้วย เรื่องของการเปลี่ยนอะไหล่ ศูนย์บริการมักเปลี่ยนอะไหล่ยกชุดอุปกรณ์ สำหรับอู่รถก็เช่นกัน แต่แนวทางปฏิบัติที่ดีบางอู่จะแจ้งลูกค้าว่าตัวไหนควรเปลี่ยนหรือไม่ โดยจะเน้นเปลี่ยนเฉพาะอะไหล่ตัวที่เสียหายจริงๆเท่านั้น ไม่ได้เปลี่ยนยกชุดระบบ ดังนั้นควรตรวจสอบกับช่างให้ดีก่อนทำการเปลี่ยน หรือถ้าเรามีเวลามากหน่อย ควรไปหาซื้ออะไหล่ด้วยตนเอง แล้วค่อยจ้างอู่เปลี่ยนอะไหล่ให้โดยให้คิดแค่ค่าแรงอย่างเดียว … Continue reading
อย่าเชื่อคู่มือรถเรื่องระยะที่ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์…ถ้าคุณขับรถในเมืองไทย!!!
เพราะคู่มือรถหลายๆค่ายแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ที่ระยะ 40,000 หรือ 60,000 กิโลเมตร ประกอบกับผู้ผลิตรถยนต์ต้องการโชว์ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ต่ำจึงเลือกระยะเวลาในการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ให้นานขึ้นเท่าที่จะนานได้ แต่เนื่องจากสภาพอากาศในเมืองไทยที่ร้อนชื้น และต้องมาเจอกับสภาพการจราจรที่ค่อนข้างติดขัด ส่งผลเกียร์ต้องทำงานหนักกว่าปกติ ดังนั้น Top Speed ขอแนะนำให้เปลี่ยนทุก 20,000 กิโลเมตร หรือกรณีที่ใช้งานหนักมากควรเปลี่ยนที่ระยะ 10,000 กิโลเมตร ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์นั้น รถบางยี่ห้ออย่างเช่น Honda ค่าเปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติแค่เพียงไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับความเสียหายที่ชุดเกียร์ที่ต้องเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากเกียร์ที่ต้องงานอย่างหนักและพังก่อนกำหนด สำหรับรถที่มีกรองน้ำมันเกียร์ก็ควรถอดออกมาล้างหรือเปลี่ยนชุดใหม่ไปพร้อมกับการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์พร้อมกัน รวมถึงอย่าลืมตรวจสอบน็อตหรือสลักถ่ายน้ำมันเกียร์และแหวนรองด้วยเช่นกัน Top Speed ขอแนะนำให้เปลี่ยนน๊อตและแหวนรองชุดใหม่ไปเลย เนื่องจากน็อตที่บี้หรือแหวนรองเสื่อมสภาพจะส่งผลให้น้ำมันเกียร์รั่วไหลได้