Category Archives: การดูแลรถ

5 สัญญาณเตือนปัญหาเกียร์กระปุก

ที่มารูป freepik.com น้ำมันคลัตซ์ลดลงจากกระปุกอย่างผิดสังเกต หรือพบรอยน้ำมันคลัตซ์ใต้ท้องรถ/ในชุดกล่องเกียร์ นี่เป็นสัญญาณว่าอาจมีการรั่วไหลในระบบเกียร์หรือคลัตซ์ทำงานไม่ปกติ คลัตช์ลื่น โดยปกติแล้ว ถ้าใครขับรถเกียร์กระปุกก็จะรู้จักรถของตนเป็นอย่างดี และจะรู้ว่าต้องใช้รอบเครื่องยนต์เท่าไรในแต่ละช่วงความเร็วในแต่ละเกียร์ แต่เมื่อเครื่องยนต์ทำงานมีรอบเครื่องสูงขึ้นแต่ความเร็วรถยนต์ลดลงกว่าปกติ หรือรถไม่มีกำลังขึ้นทางชัน ซึ่งอาจมีสาเหตุที่ผ้าคลัตช์เปื้อนน้ำมันอันเกิดจากน้ำมันเกียร์รั่วหรือผ้าคลัตช์สึกหรอมาก ซึ่งอาการที่ผ้าคลัตช์สึกหรอมากเราจะเรียกอาการนี้ว่าคลัตช์หมด ยิ่งผ้าคลัตช์สึกหรอมากผู้ขับรถก็ต้องใช้แรงในการเหยียบคลัตช์มากและเปลี่ยนเกียร์ได้ยากขึ้น แป้นคลัตซ์นิ่มหรือจม เมื่อเหยียบคลัตช์แล้วรู้สึกยวบนิ่มหรือจมลงไปกว่าปกติ บางครั้งอาจเหยียบแล้วจมไม่คืนกลับมาตำแหน่งเดิม แสดงว่าอาจเกิดการรั่วของน้ำมันคลัตช์หรือมีอากาศเข้าไปในระบบ หรืออาจเป็นทั้งสองอย่างพร้อมกัน แป้นคลัตซ์แข็ง ในทางตรงกันข้าม ถ้าเหยียบแป้นคลัตซ์แล้วรู้สึกแข็งกว่าปกติ ต้องออกแรงมากกว่าที่เคยกดแป้นตามปกติ หรือเหยียบไปแล้วรู้สึกติดขัดหรือกดลงยาก ก็ควรตรวจเช็คระบบคลัตช์เช่นกัน กลิ่นไหม้ โดยปกติที่แผ่นจานคลัตช์จะมีผ้าคลัตช์ฉาบอยู่เพื่อเพิ่มแรงเสียดทาน รวมถึงช่วยลดการเสียดสีและสึกหรอของจานคลัตช์ ผ้าคลัตช์จะเป็นวัสดุที่ทำมาจากใยหิน และสารสังเคราะห์ ผสมรวมกัน มีคุณสมบัติเหนียว (อายุการใช้งานของผ้าคลัตช์จะอยู่ที่ 80,000 ถึง 100,000 กม.)  แต่เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆผ้าคลัตช์ก็จะเริ่มบางลงจนสุดท้ายจะเหลือแต่จานคลัตช์เปลือยๆ ส่งผลให้เกิดการเสียดสีระหว่างโลหะโดยตรงเมื่อกำลังเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งไม่เพียงแต่จานคลัตช์ที่จะเสียหาย … Continue reading

Posted in การดูแลรถ, การใช้งานรถ | Tagged , | Leave a comment

เซ็นเซอร์ถอยทำงานอย่างไร ? ดูแลอย่างไร?

รถรุ่นใหม่ๆสมัยนี้จะมีเซ็นเซอร์ถอย ที่ช่วยในการแจ้งเตือนวัตถุกีดขวางเมื่อถอยจอด ซึ่งนอกจากจะช่วยแจ้งเตือนแล้ว ประโยขน์ของเซ็นเซอร์ยังช่วยให้เราถอยจอดในพื้นที่แคบๆได้ ลดความเสียหายที่จะเกิดกับตัวรถและอุบัติเหตุได้อีกด้วย โดยปัจจุบันเซ็นเซอร์ที่นิยมใช้สำหรับรถจะมี 2 ประเภท เซ็นเซอร์แบบอัลตราโซนิค เซ็นเซอร์ประเภทนี้จะใช้หลักการคล้ายๆประสาทสัมผัสของค้างคาว โดยการส่งคลื่นความถี่สูงออกไปและตรวจจับการสะท้อนกลับของคลื่นความถี่ จากนั้นจะคำนวณบอกระยะวัตถุที่กีดขวางโดยแจ้งเป็นสัญญาณเสียงให้เราทราบ (บางรุ่นที่รองรับอุปกรณ์เสริม อาจจะแจ้งเตือนเป็นตัวเลขหรือกราฟฟิคง่ายๆแสดงระยะความใกล้ไกลของวัตถุได้อีกด้วย) อย่างไรก็ตามเซ็นเซอร์ก็อาจตรวจจับไม่เจอ ในกรณีต่อไปนี้ วัตถุที่กีดขวางมีพื้นผิวนุ่มที่ดูดซับเสียง/คลื่นสะท้อน วัตถุที่มีขนาดผอมหรือเรียวมากๆ เซ็นเซอร์ก็อาจตรวจจับไม่เจอ เช่น เสาเล็กๆ วัตถุที่อยู่ด้านในมุมตั้งฉากหรือในมุมที่คลื่นสัญญาณของเซ็นเซอร์ไม่สามารถสะท้อนกลับได้ วัตถุที่อยู่ต่ำเกินไปหรืออยู่ในมุมอับสัญญาณของเซ็นเซอร์ เช่น ขอบถนน เซ็นเซอร์แบบอิเล็กโตรแมกเนติก ด้วยข้อจำกัดในการตรวจจับของเซ็นเซอร์แบบอัลตราโซนิค จึงมีการพัฒนาเซ็นเซอร์โดยใช้สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุได้ดีกว่า แต่ราคาก็สูงกว่า โดยมากเซ็นเซอร์ประเภทนี้จะใช้ร่วมกับกล้องถอย เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบฃ่วยจอด การดูแลรักษา ปกติตัวเซ็นเซอร์และระบบจะไม่ค่อยมีปัญหา รวมถึงอายุการใช้งานค่อนข้างนานหลายปี ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบมักจะเป็นที่ตัวเซ็นเซอร์เองที่เสียเนื่องจากมีน้ำหรือฝุ่นเข้า ให้ใช้พวก สเปรย์อเนกประสงค์พวก WD-40 หรือน้ำยาป้องกันสนิม หล่อลื่นอุปกรณ์ … Continue reading

Posted in การดูแลรถ | Tagged , , | Leave a comment

เมื่อไรต้องเปลี่ยนผ้าเบรค จานเบรค?

ปกติผ้าเบรคควรจะเปลี่ยนที่ราวๆ 50,000 ถึง 100,000 กิโลเมตรหรือเมื่อผ้าเบรคมีความหนาน้อยกว่า 3 มม. แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าเบรคและพฤติกรรมในการขับขี่ ว่ามีการเหยียบเบรคกระทันหันด้วยความรุนแรงหรือไม่ มีการเลี้ยงเบรคหรือไม่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามจานเบรคก็มีการสึกหรอจากการเสียดสีและส่งผลให้ผิวจานอาจไม่เรียบด้วยเช่นกัน โดยตามหลักการแล้ว เมื่อเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ก็ควรจะเปลี่ยนจานเบรคใหม่ด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากรถยนต์สมัยก่อนที่จานเบรคค่อนข้างหนา การเจียรจานเบรคเพื่อปรับผิวหน้าจานใหม่ให้เรียบนั้นสามารถทำได้ แต่สำหรับรถยนต์ในปัจจุบันด้วยการลดต้นทุนของค่ายรถต่างๆ จานเบรคจึงมีความหนาลดลงเพื่อลดต้นทุนและราคา ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์จึงแนะนำให้เปลี่ยนจานเบรคใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ไปพร้อมกันเลยมากกว่า แต่ในความเป็นจริงก็ไม่จำเป็นว่าทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ต้องเปลี่ยนจานเบรคไปด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพจานเบรคว่าไม่มีการโก่งบิดเสียรูป/รอยคลื่นและยังมีความหนาเพียงพอในการใช้งานหรือไม่ ยกเว้นว่าถ้าจานเบรคเคยถูกเจียรมาก่อนแล้ว เมื่อต้องทำการเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่อีกรอบ ก็ไม่ควรจะเจียรจานอีกเพราะความหนาของจานเบรคอาจไม่เพียงพอ ส่วนความหนาน้อยสุดเมื่อต้องเปลี่ยนจานเบรคสามารถตรวจสอบได้จากตัวจานเบรคเอง บางครั้งเราก็สามารถบอกได้ด้วยตัวเองว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนจานใหม่ได้แล้ว ถ้าพบว่าเมื่อเหยียบเบรคแล้วมีเสียงเหล็กเสียดสีมาจากเบรคหรือมีแรงสั่นเมื่อเหยียบเบรค รวมไปถึงเมื่อมีสัญญาณไฟเตือนบนแผงหน้าปัดด้วยเช่นกัน

Posted in การดูแลรถ, ความรู้เรื่องรถ, อื่นๆ | Tagged , , | Leave a comment

ไฟเตือนเครื่องยนต์เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

ไฟเตือนเครื่องยนต์ คือ ไฟที่แสดงสัญญาณจาก ECU รถว่ามีปัญหาอะไรสักอย่าง โดยปกติแล้วเมื่อรถติดเครื่องแล้ว ECU จะทำการตรวจสอบทวนสัญญาณกับทุกอุปกรณ์ในระบบว่ายังทำงานปกติดีอยู่หรือเปล่า ถ้าไฟเครื่องยนต์ติดกระพริบขณะที่ขับรถอยู่ให้รีบทำการหยุดรถ(ในที่ปลอดภัย)ทันที แล้วทำการติดต่อรถลากเข้าอู่หรือศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบ หากยังฝืนขับต่อ เครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ที่สำคัญในรถอาจจะเสียหายหนักจนต้องยกเครื่องใหม่เลยก็ได้ แต่ถ้าไฟเครื่องยนต์แค่ติดค้าง กรณีนี้ถือว่ายังไม่ร้ายแรง ยังพอสามารถขับรถต่อไปได้ แต่ก็ควรตรวจเช็คเพิ่มเติมเพื่อแก้ไข โดยทั่วไปแล้วสาเหตุที่ส่งผลให้ไฟเตือนเครื่องยนต์ติดมักเกิดจากอุปกรณ์ส่วนใหญ่ดังต่อไปนี้ Catalytic converter ซึ่งมีหน้าที่หลักคือการแปลงสสารของก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซต์หรือสารพิษอื่นๆให้ลดทอนลงด้วยความร้อนสูงๆ รวมถึงเผาไหม้ตะกอนต่างๆอีกด้วย ดังนั้นถ้ามีไฟเตือนเครื่องยนต์ติดจากแคตฯก็จะส่งผลให้ครื่องยนต์ไม่มีกำลังและกินน้ำมัน (อ่านเทคนิคการดูรักษาแคตฯได้จากบทความ “7 เหตุผลที่ทำให้แคตตาไลติกกลับบ้านเก่าก่อนกำหนด”) Mass Airflow Sensor (MAF sensor) เป็นอุปกรณ์ที่วัดปริมาณอากาศที่เข้าสู่ระบบแล้วส่งข้อมูลไป ECU เพื่อประมวลผลฉีดน้ำมันให้เหมาะสมกับการเผาไหม้กับปริมาณอากาศที่เข้ามา ส่วนใหญ่แล้วโอกาสที่เซ็นเซอร์จะเสียนั้นพบไม่ได้บ่อย แต่ถ้าเซ็นเซอร์ทำงานผิดเพี้ยน ต้นเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากกรองอากาศที่ตันหรือสกปรกซึ่งไม่ได้รับการเปลี่ยนใหม่มากกว่า อาการที่จะตามมาก็คือเครื่องกระตุกสะดุด ไม่มีกำลัง (อ่านบทความเกี่ยวการเปลี่ยนกรองอากาศได้ที่ “การเปลี่ยนกรองอากาศไม่ได้ช่วยให้ประหยัดน้ำมันขึ้น!”) … Continue reading

Posted in การดูแลรถ, ความรู้เรื่องรถ, อื่นๆ | Tagged , | Leave a comment

4 อาการรถดับกลางอากาศ

เมื่อรถดับกลางอากาศหรือขณะรอบเดินเบา จะมีแนวทางในการวิเคราะห์ได้หลายสาเหตุ แต่ต้นเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากระบบระบบน้ำมันเชื้อเพลิง, ระบบไอดี หรือระบบไฟชาร์จ แต่เราสามารถจำแนกลักษณะอาการที่รถดับกลางอากาศได้ 4 ลักษณะดังต่อไปนี้ ปัญหารถดับจากระบบไฟชาร์จ ปัญหาจากระบบไฟชาร์จ เป็นหนึ่งในต้นเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อรถกระตุกดับ โดยจะตรวจสอบง่ายๆจากสัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถเมื่อระบบไฟชาร์จมีปัญหา เช่น สัญญาณไฟเตือนแบตเตอรี่, สัญญาณไฟเตือนไฟชาร์จ, ไฟเตือนเครื่องยนต์ เป็นต้น รวมไปถึงเรายังสามารถตรวจสอบระบบไฟชาร์จได้ด้วยโวลต์มิเตอร์ ถ้าวัดไฟได้น้อยกว่า 12 โวลต์ หรือแอมป์มิเตอร์เมื่อวัดค่ากระแสได้น้อยๆ โดยปัญหาไฟเตือนจากระบบไฟชาร์จนั้นอาจจะเกิดจากอุปรณ์/ชิ้นส่วนทางไฟฟ้าที่ทำงานผิดปกติเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวก็เป็นได้เพราะสัญญาณไฟเตือนนี้กำลังบอกให้เรารู้ว่าระบบไฟชาร์จไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอสำหรับแบตเตอรี่และวงจรไฟฟ้าอื่นๆให้ทำงานได้อย่างปกติ โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นมักมาจากตัวไดชาร์จเองหรือไม่ก็ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า (voltage regulator) เมื่อระบบชาร์จไฟของรถไม่สามารถทำงานได้ เรายังอาจจะขับรถต่อไปได้อีกประมาณ 30 นาที (โดยมีเงื่อนไขว่าแบตเตอรี่ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดี) แต่เมื่อไฟหมดเกลี้ยงแบตเตอรี่ เราจะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้อีก ในรถบางรุ่น, ระบบไฟชาร์จอาจจะถูกควบคุมด้วย ECU รถ ดังนั้นกรณีนี้ระบบไฟชาร์จจะส่งสัญญาณเป็นโค๊ดแจ้งเตือนออกมา ซึ่งโค๊ดนี้จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต่อไปได้ โดยใช้ตัวอ่าน OBD 2 ในการ download โค๊ดสัญญาณ อย่างไรก็ตาม ถ้าไฟเตือนเครื่องยนต์ไม่โชว์ แนวทางการวิเคราะห์ให้ตรวจเช็คอุปกรณ์ดังต่อไปนิ้ ตรวจสอบสภาพภายนอกตัวแบตเตอรี่ว่ามีความเสียหายหรือไม่ ตรวจสอบขั้วและสายไฟของแบตเตอรี่ ว่ามีสนิม/ขี้เกลือที่ขั้วแบต หรือสายหลุด/หลวมหรือไม่? เพราะล้วนส่งผลให้การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่สมบูรณ์ไม่เสถียร ถ้าสภาพขั้วและสายไฟไม่พบความผิดปกติ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากตัวแบตเตอรี่เองที่อาจจะเสียหรือเสื่อมสภาพไปแล้ว ตรวจสอบสายพาน เพราะสายพานที่หลวมหรือสึกก็ส่งผลให้ไดชาร์จชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่ดีเช่นกัน ให้ทำการตรวจสอบสภาพสายพาน ปรับตั้ง … Continue reading

Posted in การดูแลรถ, การใช้งานรถ, อื่นๆ | Tagged | Leave a comment

7 เหตุผลที่ทำให้แคตตาไลติกกลับบ้านเก่าก่อนกำหนด

รถยนต์ในปัจจุบันทุกรุ่นทุกยี่ห้อล้วนมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า “แคตตาไลติก คอนเว็ตเตอร์” (ต่อไปนี้ขอเรียกสั้นๆว่า “แคตฯ”นะครับ)อยู่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานประจำตัวรถไปแล้ว โดยแคตฯจะทำหน้าที่เปลี่ยน/สลาย/ลดสารพิษในแก๊สไอเสีย 3 ตัว ได้แก่ ไนโตรเจนออกไซต์, คาร์บอนมอนอกไซต์และส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน ซึ่งแคตฯจะช่วยเปลี่ยนรูปสารพวกนี้เป็นคาร์บอนไดออกไซต์,ไนโตรเจนและน้ำด้วยการใช้ปฏิกิริยาทางเคมีที่ความร้อนสูงๆ รวมถึงเพื่อเผาไหม้ตะกอนและเขม่าต่างๆ อันเป็นการล้างทำความสะอาดตัวแคตฯเองภายในอย่างอัตโนมัติไปด้วย แต่ด้วยแคตฯเป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานภายใต้ความร้อนที่ค่อนข้างสูงตลอดๆ โดยถ้าความร้อนนี้ถ้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดๆหนึ่งก็สามารถทำลายตัวแคตฯเองได้เช่นกัน ดังนั้นผมขอสรุป 7 เหตุผลใหญ่ๆที่ทำให้แคตฯกลับบ้านเก่าก่อนกำหนดมาฝากครับ น้ำมันที่เผาไหม้ไม่หมดหรือเขม่า/ตะกอนใดๆก็ตามที่หลุดเข้าสู่ตัวแคตฯ นอกจากจะทำให้เกิดการอุดตันที่ตัวแคตฯได้แล้ว ยังส่งผลให้ความร้อนในแคตฯเพิ่มสูงขึ้นจนเกินควบคุมได้ โดยความร้อนที่สูงมากเกินไปนี้ก็จะไปหลอมละลายแผงรังผึ้ง สร้างรอยแตกรอยร้าวและส่งผลให้แคตฯสั่น ส่วนอาการภายนอกก็คือเครื่องยนต์ไม่มีกำลัง กินน้ำมัน เครื่องร้อน(Overheat) และมีไฟเตือนเครื่องยนต์โชว์ที่หน้าปัดรถครับ เมื่อน้ำหม้อน้ำรั่วจากประเก็นท่อร่วมไอดี โดยส่วนใหญ่มักจะถูกดูดไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ ทำให้สารเคมีในน้ำหม้อน้ำปนเปื้อนกับตัวเร่งปฏิกิริยาที่แคตฯอย่างรวดเร็วและส่งผลให้แคตฯเริ่มเสี่อม ทางป้องกันง่ายๆก็คือหมั่นคอยตรวจสอบหาระดับน้ำหม้อว่ามีการพร่องไปหรือไม่อยู่เสมอ ก็จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ การเลือกใช้น้ำมันเครื่องผิดเบอร์ก็อาจส่งผลเสียต่อแคตฯได้เช่นกันครับ เพราะน้ำมันเครื่องที่หนืดเกินไปจะทำให้เกิดไอระเหยของน้ำมันมากขึ้นด้วย ซึ่งไอระเหยนี้เมื่อจับรวมตัวกับน้ำมันแล้ว จะถูกเผาไหม้ไม่หมดเกิดเป็นตะกอน/เขม่าที่จะหลุดเข้าสู่แคตฯพร้อมกับไอเสีย โดนตะกอนที่ไม่เผาไหม้นี้เองที่จะทำให้อุณหภูมิภายในแคตฯสูงขึ้นเรื่อยๆจนสร้างความเสียหายให้กับตัวแคตฯ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่ช้ากว่ากำหนดนอกจากจะทำให้รถกินน้ำมันมากขึ้นแล้ว ยังลดประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และยังส่งผลให้น้ำมันหลุดเข้าสู่ระบบท่อไอเสียทำลายแคตฯได้ด้วยเช่นกันครับ … Continue reading

Posted in การดูแลรถ, ความรู้เรื่องรถ | Tagged , , | Leave a comment

3 เทคนิคการตรวจสอบก่อนซื้อรถมือสอง

ตรวจสอบว่าเคยประสบอุบัติเหตุหนักมาก่อนหรือไม่ ตรวจสอบร่องรอยการทำสีรถ ถ้ามีการทำสีจากรอยเฉี่ยวชน รอยถากต่างๆแบบนี้ถือว่ารับได้ แต่ถ้าเป็นรถที่เคยประสบอุบัติเหตุหนัก จะตรวจสอบพบว่าจะมีการทำสีในจุดที่ไม่ควรจะทำสี เช่น ภายในห้องเครื่อง รอยต่อของคานหน้า/ตัวถัง บริเวณที่เก็บยางอะไหล่ เป็นต้น คานหน้าไม่ควรมีการทำสี ไม่ควรมีร่องรอยการเคาะพ่นสีหรือเคยเปลี่ยนมาก่อน น็อตยึดกับตัวถังก็ไม่ควรดูใหม่ ควรมีสภาพความเก่าใกล้เคียงกับห้องเครื่อง และไม่ควรมีร่องรอยการถอดหรือทำสีที่หัวน็อต สติกเกอร์ต่างๆในห้องเครื่องก็ควรดูหมอง มีสภาพกลมกลืนกับห้องเครื่อง ไม่ควรดูใหม่ ตรวจสอบประวัติการขับขี่กับบริษัทประกันภัย ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์/อุปกรณ์ต้องสอดคล้องกับเลขไมล์ ห้องเครื่องและห้องโดยสาร ควรมีความใหม่เก่าสอดคล้องกับอายุการใช้งาน อะไหล่หรือชิ้นส่วนแต่ละอย่างต้องมีความใหม่เก่าสอดคล้องกับอายุรถ ตรวจสอบว่าไม่มีอาการผิดปกติหรืออาการเสียเรื้อรังซ่อนอยู่ เมื่อสตาร์ทแล้วไม่ควรมีไฟสัญญาณที่ผิดปกติโชว์ขึ้นมา ไม่ควรมีเสียงหรือกลิ่นที่ผิดปกติ เครื่องต้องไม่สั่นจนผิดสังเกต ตลอดจนทดลองเปิดแอร์ เปิดไฟ บีบแตร และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเพื่อทดสอบการทำงานด้วย ก่อนขับก็ควรตรวจสอบ เสียงเครื่องยนต์ รวมถึงใต้ท้องรถว่ามีน้ำยาอะไรหยดหรือไม่ ตลอดจนควันและเสียงจากท่อไอเสีย เมื่อทดลองขับรถ ก็ควรเข้าเกียร์ต่างๆให้ครบ ทั้งเดินหน้า ถอย … Continue reading

Posted in การดูแลรถ, ความรู้เรื่องรถ | Tagged | Leave a comment

7 คำถามดูแลรักษาหม้อน้ำรถให้ง่ายขึ้น

น้ำหล่อเย็น/น้ำยาหม้อน้ำมีที่มาอย่างไร? สมัยก่อนผู้ผลิตรถยนต์เลือกใช้ทองแดงเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นหม้อน้ำ เนื่องจากทองแดงมีคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนได้ดี รวมถึงมีความสามารถในการต่อต้านการผุกร่อนได้ค่อนข้างดีหรือพูดง่ายๆก็คือเป็นสนิมยากนั่นเอง แต่เพื่อเป็นการลดต้นทุน ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ได้หันมาใช้อะลูมิเนียมในการทำเป็นหม้อน้ำแทน ถึงแม้อะลูมิเนียมจะมีราคาถูกกว่าและมีน้ำหนักเบา แต่อะลูมิเนียมก็มีคุณสมบัติที่จะเกิดการผุกร่อนได้ง่ายกว่าทองแดง(เป็นสนิมได้ง่ายกว่าทองแดง) ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์จึงได้คิดค้นสารเคมีพิเศษเพื่อเติมลงไปในน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์ เพื่อช่วยยับยั้งการผุกร่อนของหม้อน้ำอะลูมิเนียมในรถ นอกจากนี้สารเคมีนี้ยังช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำ และเปลี่ยนสีน้ำหล่อเย็นให้มีสีเด่นชัดช่วยให้เราเห็นหรือสังเกตง่ายขึ้นเมื่อหม้อน้ำมีการรั่วซึม การผุกร่อน/สนิมเกิดขึ้นได้อย่างไร? โดยปกติแล้วภายในหม้อน้ำจะเป็นระบบปิดไม่มีอากาศเข้า แต่ก็ยังมีโอกาสที่อากาศอาจเล็ดรอดเข้าสู่ระบบหม้อน้ำได้ ไม่ว่าจะผ่านจากรอยรั่วในระบบหรือจากการดูแลรักษาไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการผุกร่อน(สนิม)ในระบบหล่อเย็นได้ เนื่องจากโลหะแต่ละประเภทมีความสามารถในการต่อต้านการผุกร่อนแตกต่างกัน โดยโลหะประเภททองจะมีความสามารถในการทนต่อการผุกร่อนที่สุด(เกิดสนิมยากที่สุด) ส่วนเหล็กหล่อจะเกิดการผุกร่อนได้ง่ายกว่าทอง แต่ทนต่อการผุกร่อนได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับอลูมิเนียม โดยผู้ผลิตรถยนต์มักจะออกแบบให้เสื้อสูบเครื่องยนต์เป็นเหล็กหล่อ ในขณะที่หม้อน้ำรถยนต์ทำจากอลูมิเนียม ดังนั้นเมื่อมีอากาศเข้าไประบบ อากาศจะทำปฏิกิริยากับน้ำหม้อน้ำส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และเกิดการผุกร่อนแบบ Galvanic เนื่องจากเสื้อสูบเครื่องยนต์เป็นเหล็กหล่อจึงมีคุณสมบัติเป็นแคโทด ในขณะที่หม้อน้ำซึ่งเป็นอะลูมิเนียมจึงมีคุณสมบัติเป็นแอโนด ส่งผลให้เกิดการผุที่ตัวหม้อน้ำ(เกิดเป็นรู/สนิม)ขึ้น เมื่อไรควรเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำ? น้ำยาหม้อน้ำใหม่ๆหรือน้ำหม้อน้ำปกติจะมีค่า PH ที่ประมาณ 9.0 หรือมีความเป็นด่าง(เบส)เล็กน้อย ในขณะที่เมื่อน้ำหม้อน้ำที่เริ่มเสื่อมสภาพลงจะมีค่า PH ต่ำกว่า  7.0 หรือมีความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งเราไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยสายตาได้เพราะสภาพสีหรือสภาพทางกายภาพของน้ำหม้อน้ำที่มีค่า … Continue reading

Posted in การดูแลรถ, ความรู้เรื่องรถ | Leave a comment

ตะกอนน้ำมันเกียร์บอกอะไรบ้าง

ในการทำงานปกติของเกียร์ก็จะมีทั้งความร้อนและอนุภาคที่เกิดจากการสึกหรอเกิดขึ้นอยู่แล้ว เศษอนุภาคที่เกิดจากการสึกหรอนี้ส่วนใหญ่มาจากการสึกหรอของเกียร์ โดยเศษละอองสิ่งสกปรกนี้ก็จะหมุนวนอยู่ในน้ำมันเกียร์ ทางเดียวที่จะถ่ายออกได้คือที่กรองน้ำมันเกียร์ เมื่อถึงเวลาที่กรองน้ำมันเกียร์ตันจากสิ่งสกปรกเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อการไหลเวียนของน้ำมันเกียร์ในระบบ และสุดท้ายก็จะทำให้ชุดเกียร์เสีย การตรวจสอบสภาพน้ำมันเกียร์และตะกอนในน้ำมันเกียร์ เมื่อได้รับความร้อนน้ำมันเกียร์ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น แต่น้ำมันเกียร์ที่สีเข้มขึ้นเพียงอย่างเดียวไม่ได้แปลว่าน้ำมันเกียร์นั้นเสื่อมสภาพแล้ว แต่ถ้ายังได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆน้ำมันเกียร์และเกียร์ก็จะเสียหายแน่ๆ นี่คือเหตุผลที่ทำให้รถยนต์ส่วนใหญ่ต้องมีการติดตั้งเกียร์คูลเลอร์ (automatic transmission cooler) เพื่อช่วยในการกำจัดความร้อนส่วนเกินและลดการสึกหรอในชุดเกียร์ ปกติอุณหภูมิภายในชุดเกียร์จะอยู่ที่ราวๆ 80 องศา จนเมื่อมีการขับรถอุณหภูมิชุดเกียร์ก็จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆด้วยเช่นกัน ความร้อนและการสึกหรอนี่เองที่คือต้นเหตุที่ทำให้เราจำเป็นต้องตรวจสอบสภาพน้ำมันเกียร์อยู่บ่อยๆ อีกปัญหาหนึ่งที่พบหากปล่อยให้เวลาผ่านไปก็คือ ตะกอนในอ่างน้ำมันเกียร์และในกรองน้ำมันเกียร์ ตะกอนส่วนใหญ่เกิดจากการขบกันของฟันเฟืองเกียร์ และการสึกหรอที่ “ปกติ” ส่วนใหญ่ก็จะเกิดที่บุชชิ่งและวอชเชอร์ ปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่ออกแบบมาเพื่อให้คลัชเป็นตัวหมดสภาพก่อน ซึ่งนั่นก็จะทำให้เกิดตะกอนจากคลัชมากด้วยเช่นกัน ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ ก็จะพบตะกอนในอ่างน้ำมันเกียร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่สิ่งที่ใช้ในการบ่งบอกปัญหาก็คืออนุภาคเหล็กหรือเศษตะกอนเหล็กในอ่างน้ำมันเกียร์นั่นเอง ตัวอย่างภาพแสดงคราบตะกอน(ในระดับที่ยอมรับได้)ในอ่างน้ำมันเกียร์ ในภาพนี้จะเห็นคราบเศษผงตะกอนติดที่แม่เหล็กในอ่าง ลักษณะน้ำมันเกียร์ยังมีความใส แต่อย่างไรก็ตาม การพบคราบผงตะกอนนี้คือสัญญาณที่บอกว่ากำลังจะเริ่มมีปัญหา แต่เกียร์ก็ยังสามารถทำงานได้ไปอีกสักพักใหญ่ ปริมาณคราบตะกอนนี้จะแตกต่างกันในรถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ช่างที่ชำนาญการณ์จะสามารถประเมินได้ว่าคราบตะกอนปริมาณเท่าไรที่ถือว่ามากเกินไป   … Continue reading

Posted in การดูแลรถ, ความรู้เรื่องรถ | Tagged , , | Leave a comment

7 เทคนิคดูแลและตรวจสอบประเก็นฝาสูบโก่ง

เมื่อประเก็นฝาสูบโก่งอาจจะก่อให้เกิดอาการผิดปกติที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำหม้อน้ำรั่วแล้วไหลปะปนกับน้ำมันเครื่อง เครื่องยนต์จุดระเบิดไม่ครบสูบหรือน้ำมันรั่วจากเครื่องยนต์ ดูผิวเผิน เหมือนว่าอาการเหล่านี้ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน แต่จริงๆแล้วอาจมีสาเหตุมาจากต้นเหตุเดียวกัน คือ ประเก็นฝาสูบ รวมไปถึงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม บางครั้งเมื่อประเก็นฝาสูบโก่งจริงๆอาจจะไม่ปรากฎอาการที่ว่ามานี้เลยก็ได้เช่นกัน เครื่องยนต์จุดระเบิดไม่ครบสูบ ประเก็นฝาสูบที่ชำรุด ในจุดบริเวณรอยต่อระหว่างกระบอกสูบจะทำให้เกิดการจุดระเบิดไม่ครบสูบ เพราะการชำรุดระหว่างบริเวณรอยต่อของกระบอกสูบ แรงอัดจากกระบอกสูบหนึ่งจะรั่วไหลสู่อีกกระบอกสูบได้ แรงอัดที่ลดต่ำลงนี้จะเป็นผลให้รอบเดินเบามีปัญหา ประเก็นฝาสูบที่เสียในลักษณะนี้อาจจะไม่มีผลให้เครื่องโอเวอร์ฮีทหรือเครื่องร้อน ไม่มีผลให้น้ำหม้อน้ำรั่วเข้าปนในน้ำมันเครื่องหรือมีอาการภายนอกอื่นใด ส่วนใหญ่จะเป็นอาการจุดระเบิดไม่ครบสูบเท่านั้น เครื่องยนต์โอเวอร์ฮีท เมื่อประเก็นฝาสูบเสื่อมบริเวณรอยต่อระหว่างห้องเผาไหม้กับหม้อน้ำ จะส่งผลให้น้ำหม้อน้ำค่อยๆระเหยหายและเครื่องโอเวอร์ฮีทบ่อย ซึ่งอาจเกิดเป็นพักๆ ไม่ได้เกิดตลอด ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้รถ เช่น รถอาจจะโอเวอร์ฮีทหลังจากขับไปสักพักใหญ่ๆ แต่ถ้าขับระยะสั้นๆ อาจจะไม่แสดงอาการใดๆออกมาเลยก็เป็นได้ บ่อยครั้งที่ปัญหานี้ยกระดับขึ้นหลังจากเครื่องโอเวอร์ฮีทด้วยสาเหตุอื่นก่อน เช่น พัดลมหม้อน้ำเสียจึงทำให้เครื่องโอเวอร์ฮีท แต่ถึงแม้จะเปลี่ยนพัดลมไปแล้ว แต่เครื่องยนต์ก็กลับมาโอเวอร์ฮีทอีกหลังจากผ่านไปหลายเดือน นั่นก็เพราะการโอเวอร์ฮีทในครั้งแรกมีผลให้ฝาสูบโก่งไปแล้ว แต่กว่าอาการจะออกอีกทีต้องใช้รถผ่านไปสักระยะหนึ่งก่อน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ช่างหรือผู้ใช้รถหลายๆคนสับสน จนหลงลืมสาเหตุที่แท้จริงเมื่ออาการโอเวอร์ฮีทกลับมาเกิดซ้ำอีกครั้ง การผสมปะปนของน้ำหม้อน้ำและน้ำมันเครื่อง … Continue reading

Posted in การดูแลรถ, ความรู้เรื่องรถ | Tagged , , | Leave a comment